เกี่ยวกับเรา | บริการของเรา | ลงโฆษณา | พันธมิตรกับเรา | สะสมแต้ม | ออกแบบเว็บไซต์
 
 
 
  AA
 
 
หน้าแรก > "หิ่งห้อย"... แมลงจิ๋วเรืองแสง  

ปรากฏการณ์ตามธรรมชาติจากหิ่งห้อย แมลงตัว เล็กๆ ที่ทำให้ต้นไม้ริมน้ำอย่างต้น ลำพู เรืองรอง ระยิบระยับในยามค่ำคืน  นำมาสู่คลื่นนักท่องเที่ยวจำนวนมหาศาล ที่ต่างมุ่งหน้าลงเรือหางยาว ล่องไปตามลำน้ำแม่กลอง หรือทัวร์หิ่งห้อยในจังหวัดอื่นๆ  ชมปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ หาชมได้ไม่ง่ายนัก แต่สิ่งที่มาของภาพ และข้อมูลพร้อมกับยอดนักท่องเที่ยวกลับส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนใน ชุมชนและสิ่งมีชีวิตร่วมชุมชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะการเที่ยวชมหิ่งห้อย ที่กลายเป็นข้อสงสัยว่า การท่องเที่ยวรูปแบบนี้เป็นการอนุรักษ์ให้หิ่งห้อยอยู่คู่กับชุมชนต่อไปหรือ เป็นการเร่งให้สูญพันธุ์เร็วขึ้น


สิ่งมีชีวิตเล็กๆ บนโลกใบใหญ่
หิ่งห้อย แมลงตัวจิ๋ว ที่มักจะส่องแสงเป็นจุดเล็กๆ อยู่ตามต้นไม้ริมน้ำอย่างต้นลำพู แต่เมื่อใดที่มีหิ่งห้อยมาชุมนุมกันนับร้อยตัว แสงเล็กๆ ก็จะสว่างไสว สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ที่ได้พบเห็น แต่น้อยคนที่จะได้เห็นตัวจริงของมัน

ในเรื่องรูปลักษณ์หน้าตาของแมลงจิ๋ว เรืองแสงได้ ชนิดนี้ ประกอบไปด้วยปีก 2 ชั้น หัวทรงรี สีเหลืองปนน้ำตาล มีหนวด 2 เส้น ลำตัวมีลักษณะเป็นปล้อง ปล้องบนสุดคือหน้าอก นูนแข็งสีดำ ส่วนท่อนกลางแบ่งเป็น 3 ปล้อง และส่วนที่ถือว่าเป็นจุดสำคัญของหิ่งห้อยคือ 2 ปล้องสุดท้าย เนื่องจากเป็นจุดให้กำเนิดแสงนั่นเอง ขาของหิ่งห้อยมี 3 ข้อ 6 ขา ปลายขาจะมีสารเหนียวข้น เพื่อเป็นที่ยึดเกาะต้นไม้ใบหญ้า

หิ่งห้อยเป็นแมลงปีก แข็งขนาดเล็ก อาศัยอยู่ตามโคนไม้ริมน้ำ เมื่อถึงเวลาหากินจึงจะไต่ขึ้นมาบนต้นไม้ ใบไม้เพื่อกินน้ำค้างตามใบไม้ใบหญ้า มักวางไข่ไว้ตามดินหรือที่ชื้นแฉะ ในอีก 4-5 วันต่อมา ไข่จึงจะฟักเป็นตัวหนอน และโตเต็มวัยกลายเป็นหิ่งห้อยอยู่ประมาณ 3- 12 เดือน จึงตาย ถือว่าเป็นสัตว์ที่มีวงจรชีวิตไม่ยืนยาวนัก


หิ่งห้อยสัญลักษณ์แห่งความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ
ส่วนใหญ่แล้วหิ่งห้อยมัก จะอาศัยอยู่ตามพุ่มไม้ หรือตามพื้นที่ชุ่มชื้น ใกล้แหล่งน้ำสะอาด และที่สำคัญ น้ำบริเวณนั้นจะต้องเป็นน้ำนิ่ง หมายถึงผืนน้ำที่เงียบสงบ ไม่ค่อยมีคลื่นซัดฝั่งมากนัก เนื่องจากไข่หิ่งห้อยส่วนใหญ่จะเกาะอยู่ตามชายตลิ่ง หากถูกคลื่นน้ำซัดจะทำให้ไข่ฝ่อ ไม่ฟักตัวทันที และเมื่อหิ่งห้อยโต เต็มวัยก็จะขยับขยายที่อยู่อาศัยจากโพรงดิน โคนไม้ขึ้นมาอยู่บนต้นลำพู ลำแพนโพทะเล แสม สาคู เหงือกปลาหมอ โดยเฉพาะบริเวณป่าชายเลนที่เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ มีแหล่งอาหารสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้หิ่งห้อยจึงเป็นตัวชี้วัดถึงความอุดมสมบูรณ์และสมดุลทางระบบนิเวศทางธรรมชาติได้เป็นอย่างดี

ความสมบูรณ์ของธรรมชาติ สามารถบอกได้ด้วยสิ่งมีชีวิตในบริเวณนั้น เช่นเดียวกับป่าชายเลนที่มีตัวบอกความอุดมสมบูรณ์เป็นสัตว์ที่หากินในบริเวณนั้น หิ่งห้อยจึง เป็นเครื่องการันตีได้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่และสมดุลระบบนิเวศวิทยา ได้เป็นอย่างดี ทั้งยังทำหน้าที่เป็น ?ตัวห้ำ? ในการควบคุมศัตรูพืชในธรรมชาติ ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการเกษตรกรรม อันเป็นวิถีชีวิตหลักของคนไทยมาแต่ครั้งโบราณ

เริ่มจากระยะที่หิ่งห้อยยังเป็นตัวหนอน หอยคืออาหารหลักของพวกมัน ซึ่งเท่ากับว่าหิ่งห้อยช่วย กำจัดตัวพาหนะนำโรคหลายๆ ชนิดที่สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์และสัตว์ได้ เช่น พยาธิใบไม้ในลำไส้ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ กินหอยเชอร์รี่ซึ่งมักจะเข้าไปกัดกิน ทำลายต้นกล้าข้าวในนาจนเสียหาย หิ่งห้อยจึงเป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ทีมีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่และการเกษตรของไทยมานาน

ปล่อยแสง มหัศจรรย์ความงามจากหิ่งห้อย
หิ่งห้อยเป็นสัตว์หากินกลางคืน แหล่งหากินสุดโปรดของพวกมันคือบริเวณที่มีน้ำสะอาด และบริเวณป่าโกงกาง หรือป่าชายเลนและต้นลำพู ในเวลากลางวันหิ่งห้อยจะ ซ่อนตัวอยู่ตามโพรงดินใต้ต้นไม้ ต่อเมื่อเวลาใกล้ค่ำจึงเริ่มออกมาจากที่ซ่อน และปฏิบัติภารกิจประจำวันของมัน นั่นคือ การกะพริบแสง แต่สิ่งที่น่าทึ่งคือ หิ่งห้อยกะพริบมีนาฬิกาในตัว ที่ทำให้มันกะพริบแสงได้ทุกๆ 24 ชั่วโมง และที่น่าทึ่งกว่านั้นคือ หิ่งห้อยที่มาของภาพ และข้อมูลรวมกันเป็นจำนวนมาก จะพร้อมใจกันกะพริบแสง แต่เมื่อใดที่มีการแตกฝูงออกเป็นกลุ่มๆ แสงที่กะพริบออกมาจะเริ่มสามัคคีกัน นั่นเพราะหิ่งห้อยรู้จักการปรับตัว

มนุษย์รู้จักหิ่งห้อยมานานไม่ต่ำกว่า 2,000 ปี ในสมัยโบราณเล่ากันว่า ชาวจีนและชาวบราซิลจะออกจับหิ่งห้อยมาใส่ขวดแก้ว ใช้แทนตะเกียงให้แสงสว่างยามค่ำคืน ว่ากันว่า หิ่งห้อยโตเต็มวัยเพียง 6 ตัวเท่านั้นก็ทำให้ห้องสว่างไสวมากพอที่จะอ่านหนังสือได้แล้ว เช่นเดียวกับคนญี่ปุ่นที่นิยมนำแสงสว่างของหิ่งห้อยมาใช้ประโยชน์




หิ่งห้อยสัญญาณแห่งฤดูกาล
ตัวอย่างการให้กำเนิดพลังงานแสงใกล้ตัว เช่น หลอดไฟฟ้าที่ใช้อยู่ตามบ้านทุกวันนี้ ใน 100 % จะถูกแบ่งออกเป็นพลังงานความร้อน 90 % และที่เหลืออีก 10 % คือพลังงานแสง ด้วยเหตุนี้เวลาที่เราไปเอามือไปจับหลอดไฟหรืออังไว้ จะรู้สึกร้อน ซึ่งในทางวิทยาศาสตร์เรียกกันว่า แสงร้อน

ในขณะที่หิ่งห้อย 90 % ของสารเคมีในตัวหิ่งห้อย คือพลังงานแสง และอีก 10 % คือพลังงานความร้อน ดังนั้นหากเราจับหิ่งห้อยมาไว้ในมือจึงไม่รู้สึกร้อน แต่หากต้องการแสงจากหิ่งห้อยร้อนเท่ากับแสงจากหลอดไฟ จะต้องรวบรวมหิ่งห้อยให้ได้ถึง 1,000 ตัวกันเลยทีเดียว

สมัยก่อนบริเวณใกล้น้ำบริเวณใดที่มีความอุดมสมบูรณ์ ในตอนกลางคืนจะพบแสงสีเหลือง ระยิบระยับไปทั่วทั้งบริเวณ โดยเฉพาะบริเวณต้นไม้ที่เกิดขึ้นริมน้ำ เช่น ต้นลำพู ว่ากันว่าสมัยก่อน ชาวต่างประเทศที่ล่องเรือมายังกรุงเทพมหานคร ถึงกับตื่นตกใจในแสงสียามค่ำคืนอันงดงามจากเหล่าแมลงเรืองแสงชนิดนี้ จนมีการจดบันทึกถึงความประทับใจในบรรยายความงดงามนี้ไว้

มาวันนี้เมื่อระบบนิเวศนิทยาของเมืองเปลี่ยนไป เมืองจึงสูญเสียหิ่งห้อยไป แต่ย้อนกลับไปในอดีตบริเวณที่ถือว่ามีหิ่งห้อยเป็น จำนวนมาก คือบริเวณปากคลองบางลำพูนั่นเอง เนื่องจากในอดีตในบริเวณดังกล่าวมีต้นลำพูเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่และหากินของสัตว์น้ำจำนวนมาก รวมไปถึงแมลงตัวกะจิดริดอย่างหิ่งห้อยด้วย จนกระทั่งมีการบูรณะป้อมพระสุเมรุและบริเวณโดยรอบ จัดสร้างเป็นสวนสาธารณะสันติชัยปราการ และพระที่นั่งสันติชัยปราการ เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการนี้มีการปลูกต้นลำพู เพาะเลี้ยงหิ่งห้อย เพื่อฟื้นฟูสภาพบางลำพูในอดีตให้กลับคืนมาอีกครั้ง

วงจรชีวิตหิ่งห้อย
ชีวิตของหิ่งห้อย เริ่มต้นขึ้นจากไข่ หนอน ดักแด้ จนกระทั่งโตเต็มวัย กลายเป็นหิ่งห้อย หิ่งห้อยตัวเมียจะวางไข่ครั้งละหลายร้อยฟองบนดิน กิ่งไม้หรือใบหญ้าในช่วงมิถุนายนจนถึงกรกฎาคม เมื่อวางไข่เรียบร้อยแล้วแม่หิ่งห้อยจะไม่ย้อนกลับมาดูไข่ที่มันวางไว้อีกเลย ไข่หิ่งห้อยใช้เวลาราว 3 สัปดาห์จึงฟักเป็นตัวหนอน ในระยะที่เป็นตัวหนอน จะออกหากินเฉพาะในเวลากลางคืนเท่านั้น ในช่วงนี้หนอนหิ่งห้อยจะ ยังอยู่ในร่างหนอนน้อยไปราว 1-2 ปี หลังจากนั้นก็จะเริ่มเปลี่ยนเป็นดักแด้และฝังตัวอยู่ใต้ดิน รอจนกว่าปีกจะงอกออกมา จึงออกมาจากที่ซ่อนตัว กลายเป็นหิ่งห้อยโตเต็มวัย ชีวิตหลังจากนี้ หิ่งห้อยจะไม่แตะต้องอาหารใดนอกจากน้ำค้างบนใบหญ้า ใบไม้เท่านั้น ระยะนี้ถือว่าเป็นระยะสุดท้ายของวงจรชีวิตหิ่งห้อยแล้ว เพราะพวกมันจะมีชีวิตอยู่ได้อีกเพียง 3 สัปดาห์ก็จะตาย



รหัสแสงจากหิ่งห้อย
หิ่งห้อยที่ พบได้บ่อยๆ มักจะกะพริบแสงสีเหลือง เขียว เหลืองฟ้า หรือแดงส้ม และหากเข้าไปสังเกตใกล้ๆ ต้นลำพูจะพบว่า ตัวที่บินไปมาตามพุ่มไม้เป็นหิ่งห้อยหนุ่ม ส่วนหิ่งห้อยสาวๆ มักจะไว้ตัว เกาะนิ่งๆ อยู่ตามกิ่งไม้ใบไม้ พฤติกรรมดังกล่าวสื่อถึงรูปแบบการสืบพันธุ์ของสัตว์เรืองแสงชนิดนี้ เนื่องจากหิ่งห้อยใช้การกะพริบแสงสื่อสารกับเพศตรงข้าม เป็นการประกาศตัวแบบอ้อมๆ ว่าหิ่งห้อยตัวนี้พร้อมแล้วที่จะมีการสืบพันธุ์และเป็นการบอกพิกัดตำแหน่งที่มันอยู่ หิ่งห้อยตัว ผู้จะเป็นฝ่ายเริ่มกะพริบแสงก่อน เมื่อตัวเมียเห็นลีลาการกะพริบหรือจะเรียกว่าความถี่ในการส่งสัญญาณ แล้วเกิดถูกอกถูกใจ ก็จะส่งสัญญาณตอบกลับไปยังตัวผู้รู้ จากนั้นตัวผู้ก็จะบินมาหาตัวเมียเพื่อเข้าสู่กระบวนการสืบพันธุ์ในที่สุด

นอกจากนี้ยังพบว่าการกะพริบแสงของหิ่งห้อยแต่ละชนิดนั้นมีความแตกต่างกัน ทั้งกะพริบช้าเร็ว แสงที่กะพริบอาจเปลี่ยนสีได้ตามสถานที่ที่มันอยู่ และหิ่งห้อยตัวเมียบางตัวยังมีพฤติกรรมกินหิ่งห้อยด้วยกัน โดยมันจะกะพริบแสงล่อให้ตัวผู้บินเข้ามาหา

การกะพริบแสงของหิ่งห้อยนั้นเกิดขึ้นโดยอาศัยกระบวนการทางเคมี บริเวณที่เรืองแสงได้ของหิ่งห้อยนั้น จะอยู่ที่บริเวณปล้องท้ายซึ่งมีสารที่ชื่อว่า ลูซิเฟอริน เมื่อทำปฏิกิริยากับออกซิเจน และพลังงานจากโปรตีน ATP ซึ่งเป็นโปรตีนที่ให้พลังงานในเซลล์ ทำให้เกิดกระบวนการเผาไหม้ภายในเซลล์ เกิดเป็นพลังงานแสงขึ้นมา ทำให้เราเห็นแสงเรืองๆ สว่างออกมาจากปล้องลำตัวของมัน

 
เรื่องเล่า ประสบการณ์
ล่องเรือชมหิ่งห้อย
ล่องเรือชมหิ่งห้อย ต้นลำพูประดับไฟกะพริบจากธรรมชาติ ... อ่านต่อ >>
เส้นทางวิถีไทย หมู่บ้าน ชุมชน โฮมสเตย์
เรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของผู้คนได้ดีที่สุด พักแบบโฮมสเตย์ กิน นอน ใช้ชีวิตเหมือนชาวบ้าน วิถีชีวิตคนริมคลอง (การพายเรือตกกุ้ง , ดักโพงพาง , เตาตาลทำน้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลปึก) .. อ่านต่อ >>
 
 
ที่มาของภาพ และข้อมูล :
วิชาการดอทคอม
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

แผนที่ท่องเที่ยว Google Map
แผนที่ท่องเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวและกิจกรรมmท่องเที่ยวใน อ.อัมพวา อ.บางคนที และ อ. เมือง จ.สมุทรสงคราม และจังหวัดใกล้เคียง
การเดินทาง
รวบรวมข้อมูลการเดินทางจากกรุงเทพฯ ไป จ. สมุทรสงคราม
รถยนต์
, รถตู้, รถไฟ, รถโดยสารประจำทาง แผนที่ ..อ่านต่อ >>
 
Bookmark and Share
C1
 
:: เมนู

ข้อมูลทั่วไป
การเดินทาง
โปรโมชั่นอัมพวา
ข่าวท่องเที่ยวอัมพวา
ปฏิทินท่องเที่ยว
สัมผัสไทย ที่อัมพวา
สถานที่ท่องเที่ยว
กิจกรรมท่องเที่ยว
เส้นทางท่องเที่ยว
บันทึกความทรงจำ
รีวิวที่พัก โฮมสเตย์ รีสอร์ท
รีวิวที่กิน ร้านอาหาร
ร้านอาหารแบ่งตามที่ตั้ง
ห้องภาพ
สำหรับสถานประกอบการ
   โฆษณากับเรา
   พันธมิตร(Partner)กับเรา
   สะสมแต้ม ดาหลาพลัส



 
:: สถานที่ท่องเที่ยว


 
:: โฆษณากับเรา คลิกที่นี่
 
A1
 
A2
 
 
B8
 
B9